วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

More's Law คือใคร

เนื้อหาโดยย่อมีดั่งนี้ครับ
    กฎของมัวร์ (Moore's Law)
      หากกฎของมัวร์เป็นจริงคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบันจะก้าวไปอย่างไรในปี พ.ศ. 2490 วิลเลียมชอคเลย์และกลุ่มเพื่อนนักวิจัยที่สถาบัน เบลแล็ป ได้คิดค้นสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกมาก เป็นการเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิคส์ที่เรียกว่า โซลิดสเตทเขาได้ตั้งชื่อสิ่งที ่ประดิษฐ์ขึ้นมาว่า "ทรานซิสเตอร์" แนวคิดในขณะนั้นต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถทำได้ดีด้วยหลอดสูญญากาศแต่หลอดมี ขนาดใหญ่เทอะทะใช้กำลังงานไฟฟ้ามากทรานซิสเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาแทนหลอดสูญญากาศได้เป็นอย่างดีทำให้เกิดอุตสาหกรรมสาร กึ่งตัวนำตามมา และก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ พ.ศ. 2508 อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวได้แพร่หลาย มีบริษัทผู้ผลิตทรานซิสเตอร์จำนวนมากการประยุกต์ใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์  กว้างขวางขึ้น มีการนำมาใช้ในเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ของใช้ในบ้าน จึงถึงในโรงงานอุตสาหกรรม กอร์ดอน มัวร์ (Gordon E. Moore)ผู้อำนวยการวิจัยและพัฒนาของบริษัทแฟร์ซายด์เซมิคอนดัคเตอร์เป็นผู้อยู่ในวงการวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ และการค้นคว้า ทางด้านสารกึ่งตัวนำ ต่อมาเขาได้เป็นผู้บุกเบิกและร่วมสร้างบริษัทอินเทลจนมีชื่อเสียงโด่งดังและประสบผลสำเร็จ การผลิตและการค้นคว้าทางด้านสารกึ่งตัวนำส่วนใหญ่ของแฟร์ซายด์จะอยู่ในการดำเนินการของมัวร์เขาได้คลุกคลีกับเทคโนโลยีมาอย่าง ต่อเนื่อง และยาวนานจากการสังเกตและคาด คะเน แนวโน้มทางเทคโนโนโลยีของมัวร์ในที่สุดเขาได้ตั้งกฎของมัวร์ (Moore's Law) จนเป็นที่ยอมรับ และทำให้การคาดคะเนอนาคตได้ใกล้เคียง ความเป็นจริง ทฤษฎีของมัวร์ได้กล่าวไว้ว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความซับซ้อนของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอรืทำให้สามารถผลิต     ไอซีที่มี ความหนาแน่นไดด้เป็นสองเท่าทุก ๆ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เขาได้ทำการพล็อตกราฟแบบสเกลล็อกให้ดูจากอดีตและพบว่าเป็นเช่นนั้นจริง นอกจากนี้ความก้าวหน้าอื่น ๆ อีกหลายอย่างก็เป็นไปตามกฎของมัวร์ด้วยเช่นกัน การสร้างทรานซิสเตอร์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง บริษัท แฟร์ซายด์ เซมิคอนดัคเตอร์เป็นบริษัทแรกที่เริ่มใช้เทคโนโลยีการผลิต ทรานซิสเตอร์แบบ    planar หรือเจือสารเข้าทางแนวราบ เทคโนโลยีนี้เป็นต้นแบบของการสร้างไอซีในเวลาต่อมา จากหลักฐานที่กล่าวอ้างไว้พบว่า บริษัทแฟร์ซายด์ได้ผลิตพลาน่าทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2502 และบริษัทเท็กซัสอินสตรูเมนต์ได้ผลิตไอซีได้ในเวลาต่อมา และกอร์ดอนมัวร์ก็ได้กล่าวไว้ว่า จุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์เริ่มต้นจากการเริ่มมีพลาน่าทรานซิสเตอร์   





กฎของมัวร์ (Moore’s law) อธิบายโดย กอร์ดอน มัวร์ (Gordon Moore) อดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทลกล่าวถึง ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม จะเพิ่มเป็นเท่าตัวทุกสองปี
กฎของมัวร์จะเป็นไปได้หรือ?
      จากความก้าวหน้าของการพัฒนาสารกึ่งตัวนำที่รวดเร็ว พัฒนาทางด้านคอมพิวเตอร์จะไม่ถึงขีดจำกัดบ้างหรือ คำถามนี้เป็นคำถาม ที่หลายคนตั้ง อย่างไรก็ดี หากพิจารณาถึงความเป็นจริง ทุกสิ่งทุกอย่างไม่อยู่กับที่ กฎของมัวร์ก็เช่นกัน คงไม่ใช่เป็นกฎแบบอยู่กับที่ กฎของมัวร์ก็เช่นกัน คงไม่ใช่เป็นกฎแบบอยู่กับที่ แต่จะเปลี่ยนแปลงกับสภาพกาลเวลาด้วย แต่ด้วยความสามารถของมนุษย์ในการคิดค้นต่าง ๆ จึงเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายยังมีหนทางที่พัฒนาไปได้อีกมาก มนุษย์กับไซเบอร์สเปซ และคนกับหุ่นยนต์ ที่อยู่ร่วมกันจะได้เห็นอย่างแน่นอน
แหล่งอ้าอิงครับ
ผู้เขียน : ยืน ภู่วรวรรณ
เรียบเรียงจาก : หนังสือไมโครคอมพิวเตอร์
Rebert R Schller "Moore's Law : Past, Present, and Futrue. IEEE Spectrum, June 1997, Vol 34 No 6 pp.53-59

ที่สุดของความอยาก - ว. วชิรเมธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น